วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วัยรุ่นกับแอลกอฮอล์

วัยรุ่นกับแอลกอฮอล์ 
ปัจจุบันนี้ปัญหา พฤติกรรมการดื่มสุราของคนไทยในสมัยปัจจุบันนี้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไป เพราะว่าพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมอีกทั้งยังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และ ในสมัยปัจจุบันไม่ใช่มีแค่ผู้ใหญ่ที่ดื่มสุรา แต่ยังมีทั้งเด็กวัยรุ่น และเยาวชนที่ดื่มสุราเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะปัญญาของวัยรุ่นในการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม ไม่ว่าจะเป็น เหล้า เบียร์ ไวน์ มีมากขึ้น ในทุกประเทศ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบทดลองสิ่งต่างๆและวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้านซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุนำไปสู่การแสดงออกทางพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมของวัยรุ่นเช่นการคบเพื่อน การต้องการความเป็นอิสระ ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับผู้ปกครองอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นได้ โดยเฉพาะวัยรุ่นในครอบครัวที่มีปัญหา และในปัจจุบันก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในวัยที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ จากสถิติอายุเฉลี่ยที่เด็กวัยรุ่นเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คืออายุ 12 ปีขึ้นไป และแต่ละปี จะมีวัยรุ่นจำนวน 4 ล้าน 6 แสนคน อายุระหว่าง 15 – 19 ปี จะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราเพิ่มขึ้น เช่น ทำให้การเรียนตกต่ำลง มีปัญหากับผู้ปกครอง จากการการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และวัยรุ่นที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะทำให้เกิดการติดแอลกอฮอล์ได้ จากความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น เช่น ทำให้อ้วน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของสมอง-พฤติกรรม-เชาวน์ปัญญา มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ผลการเรียนตกต่ำ ก่อให้เกิดการติดสุราเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ มีพฤติกรรมส่อไปในทางการเกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้นจนบางคนถึงขนาดถูกจับกุมดำเนินคดีได้และที่สำคัญ คือปัญหาการเกิดอุบัติเหตุเป็นพฤติกรรมเสี่ยงอย่างหนึ่งที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการจราจรทางบนท้องถนน ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่มีความรุนแรง และทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายๆวันเช่น เทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น
นอกจากปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุราของวัยรุ่นแล้ว สำหรับผู้ใหญ่เองก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะการที่เด็กดื่มสุรา ส่วนหนึ่งก็อาจเกิดจาการอบรมเลี้ยงดูจากบิดา มารดาด้วย
และถ้าหากในครอบครัว บิดามารดามีพฤติกรรมการติดสุรา ก็จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่บุตร ทำให้ลูกมีปัญหา หรือ อาจเกิดความรุนแรงถึงขั้นเกิดการทะเลาะวิวาทกันเกิดขึ้นภายในครอบครัว 
จากปัญหาการดื่มสุราไม่ได้เป็นเพียงปัญหาในระดับครอบครัวเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระดับประเทศ เพราะ หลังจากการดื่มสุราแล้วก็อาจเกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ปัญหาอาชญากรรม จากคดีต่างๆตามมาหลายคดี
จะเห็นว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนก่อให้เกิดผลกระทบมากมาย และในปัจจุบันนักเรียน นิสิต นักศึกษา ต้องเรียนและพักอาศัยท่ามกลางร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งความหนาแน่นของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษามีผลต่อการเพิ่มแรงจูงใจในการดื่มและสร้างทัศนคติทางบวกต่อการดื่ม รวมทั้งเพิ่มจำนวนการเป็นนักดื่ม ดังนั้น การมีมาตรการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น ก่อนที่ประเทศไทยจะครองแชมป์นักดื่มของโลก 
จากสถานการณ์การดื่มสุราของวัยรุ่นไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป็นที่สนใจมากในสังคม สังคมก็เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการดื่มสุราเป็นอย่างมากจึงพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีให้กับประชาชนได้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เรื่อง พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น 
ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO)พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์มากจัดเป็นอันดับ 5 ของโลก และปัจจุบันนี้มีจำนวนผู้ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น กลุ่มที่น่าเป็นห่วงซึ่งเป็นนักดื่มหน้าใหม่ คือ กลุ่มวัยรุ่นที่มีนักดื่มมากขึ้น โดยวัยรุ่นเพศชายอายุ 11 – 19 ปี ที่บริโภคเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ มีจำนวนประมาณ 1.06 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.23 ของประชากรในกลุ่มอายุนี้ ปรากฏการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือ นักเรียนชายและหญิงระดับชั้นมัธยมปลาย และระดับ ปวช.ที่เคย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ ร้อยละ 50 เริ่มดื่มเมื่ออายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งนี้ ผู้ชายเริ่มต้นดื่ม ในอายุน้อยกว่าผู้หญิง แต่ กลุ่มผู้หญิงวัย 15 – 19 ปี เป็นกลุ่มที่น่าจับตามากที่สุดเนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนเกือบ 6 เท่า คือจากร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 5.6 และในกลุ่มหญิงในวัยนี้เป็นผู้ดื่มประจำถึง ร้อยละ 14.1 (ดื่ม 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ถึงดื่มครึ่งวัน) 
ปัญหาการติดสุราและการดื่มสุราเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในวัยผู้ใหญ่เท่านั้นแต่ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนของเราที่มีอายุระหว่าง( 12-19 ปี) ที่ดื่มสุราและเบียร์ โดยผู้ชายดื่มมากกว่าหญิง 9 เท่า โดยเฉพาะนักดื่มหน้าใหม่ ที่ผู้ผลิตเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เด็กผู้หญิง (วัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี มีจำนวนการดื่มสุราเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าตัว
จากการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประชากรอายุกลุ่มเยาวชนอายุ 15.24 ปี เป็นกลุ่มที่มีการดื่มสุราและเครื่องดื่มมึนเมาร้อยละ 23.5 โดยชายมีอัตราการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาสูงกว่าหญิงในทุกกลุ่มอายุและในประเทศไทยพบว่า วัยรุ่นที่เริ่มดื่มสุราครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปี มีความสัมพันธ์กับการติดสุรา(Alcohol Dependent)มากกว่าวัยรุ่นที่ดื่มสุราครั้งแรกเมื่ออายุ 20 ปีถึง 5 เท่า นอกจากนี้ การดื่มสุรา และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกโดยไม่ตั้งใจ และมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งก่อให้เกิดความรุนแรงระหว่างวัยรุ่นด้วยกันและต่อวัยผู้ใหญ่ด้วย นำไปสู่สาเหตุการตาย 3 อันดับจากอุบัติเหตุรถยนต์ การฆ่าตัวตาย การฆ่าผู้อื่นตายล้วนมีการดื่มสุราและของมึนเมาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
สาเหตุที่เด็กวัยรุ่นมีการดื่มสุรา เพราะ
1. เพื่อนชักชวนให้ดื่ม การเข้ากลุ่มเพื่อนและต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อนเมื่อเพื่อนชวนก็เลยยอมตามเพื่อน
2. เพื่อความสนุกสนาน ร่วมวงกับเพื่อน ๆแล้วเกิดความสนุกสนาน
3. ถูกยุ ถูกท้าทายให้ดื่มสุรา เช่น “ไม่ดื่มไม่ใช่ชาย” “ถ้าเป็นชายจริงต้องดื่ม”
4. ดื่มสุราตามเทศกาล ดื่มเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน
5. ดื่มเพื่อคลายความทุกข์ เมื่อมีความทุกข์ใจ การดื่มสุราจะทำให้ผู้ดื่มมีความรู้สึกตัวน้อยลง มีความสนุกเพิ่มขึ้น อยากสนุกมากขึ้น จึงทำให้ลืมความทุกข์ใจได้ชั่วขณะ
6. ดื่มเพื่อลดปมด้อยโดยการแสดงพฤติกรรมเด่น การดื่มสุราทำให้เกิดความกล้าที่จะแสดงพฤติกรรมที่ปกติไม่กล้าแสดงออก สิ่งที่เก็บกดก็จะแสดงออกมาโดยไม่คำนึงว่าจะทำให้ใครเดือดร้อนหรือโดยไม่กลัวกฎหมายลงโทษ เช่น ปกติไม่กล้าสู้คน เป็นคนเก็บกด ก็เอะอะ โวยวาย พูดเสียงดัง คุยโว ท้าตีท้าต่อย บางคนอวดร่ำอวดรวย แจกเงิน ฯลฯ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นมี 3 ปัจจัย คือ เพศ อายุ ที่พักอาศัย ทัศนคติต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่านิยมการไม่ดื่ม และการรับรู้ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเอื้อ คือ การเข้าถึงแหล่งซื้อขาย และความสัมพันธ์ของครอบครัว ส่วนปัจจัยเสริม ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มของเพื่อนสนิท และการรับอิทธิพลจากสื่อโฆษณา ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยปัจจัยนำเข้า ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมบางกลุ่มที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น เช่นรายได้ที่ได้รับ การศึกษาของบิดามารดา ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหตุจูงใจก่อนดื่มเป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาถึงอิทธิพลหลัก คือ เพื่อนสนิทที่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอิทธิพลมากที่สุดในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น
ลักษณะของความสัมพันธ์กับเพื่อนมีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นเพราะ เพื่อนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของวัยรุ่น ซึ่งเป็นได้ทั้งการปรับพฤติกรรมการดื่มให้เหมือนเพื่อน และชักชวนให้เพื่อนดื่ม เพื่อนอาจเป็นผู้ส่งเสริมให้ดื่มหรือหยุดดื่ม และเพื่อนสามารถช่วยเพื่อนให้หยุดดื่มได้ คำถาม คือ อิทธิพลของเพื่อนจะกระทบต่อการดื่มสุราเท่ากันหรือไม่ในแต่ละกลุ่ม ความสัมพันธ์ของเพื่อนมีหลายรูปแบบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกันและไม่เท่าเทียมกัน คือ พฤติกรรมการดื่มสุราอันเนื่องมาจากอิทธิพลของเพื่อนสนิท เช่น ชนิดของเพื่อนและลักษณะของเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้พฤติกรรมที่วัยรุ่นจะถูกครอบงำโดยเพื่อน นั่นคือ ผู้ที่ดื่มสุรามักมีเพื่อนดื่มสุรา เป็นต้น
ปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พบว่า ประชากร มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และผลเสียจากพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า มีทรัพย์สินเสียหายจากอุบัติเหตุจราจร และความสูญเสียทางอ้อม เช่น การหยุดงาน เป็นต้น และพบว่ากลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนชายได้รับอุบัติเหตุสูงจากการเมาแล้วขับ ถูกคนเมาชน และโดยสารในรถที่คนเมาขับ ส่วนการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทย ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจครั้งล่าสุดในปี 2550 พบว่า ประชากรกว่า 15 ล้านคน หรือคิดเป็น 30% ของประชากร ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของวัยรุ่นเป็นพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสมองที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ เช่นการดื่มสุราทั้งๆ ที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาตให้ดื่มสุรา ซึ่งส่งผลเสียตามมามากมาย เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของสมอง-พฤติกรรม-เชาวน์ปัญญา พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อุบัติเหตุบนท้องถนน ผลการเรียนตกต่ำ และการติดสุราเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ที่สำคัญอาจก่อให้เกิดก่ออาชญากรรมทางเพศมีแนวโน้มที่จะทำร้ายเหยื่ออย่างรุนแรง โดยผู้กระทำมักมีการเมาสุราก่อนหรือระหว่างการทำร้ายทางเพศ
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และสังคมได้ สุราจะมีผลกระทบกับคนมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ ความถี่ และความเร็วในการดื่ม เป็นหลัก และสิ่งที่มีปัจจัยร่วมที่สำคัญคือ อายุ เพศ น้ำหนักตัว ความต้านทานต่อสุรา ช่วงเวลาของวันขณะดื่ม ดื่มขณะท้องว่างหรืออิ่ม กำลังเหนื่อย หรือปกติ และกำลังใช้สารเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วยหรือไม่ สำหรับในรายที่ดื่มมากเกินไป ดื่มเป็นประจำเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรง คือ การติดสุรา และที่แน่ๆปัญหาที่ตามมาคือ ปัญหาครอบครัวมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ครอบครัวแตกแยก ส่งผลถึงลูกด้วย ทำให้เกิดหนี้สิน ปัญหาการงาน ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ประสิทธิภาพการทำงานต่ำ มีปัญหากับผู้ร่วมงาน และอาจต้องออกจากงานเป็นคนตกงาน ท้ายที่สุดคือปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น โรคตับแข็ง เลือดออกในกระเพาะอาหาร ขี้ลืม ขาดสติ อาจทำร้ายผู้อื่น หรือขับรถโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึมเศร้า มีอาการทางจิต
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าสุราหรือเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์เป็นสารกระตุ้นประสาท เพราะหลังจากการดื่มไปสัก 2-3 แก้ว มักรู้สึกว่าเริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้ เริ่มกล้าพูด แต่ความจริงแล้วเป็นสารเสพติดประเภทกดประสาท ซึ่งจะทำให้สมองทำงานช้าลง อารมณ์เศร้า คิดช้า ถ้าดื่มมากขึ้นอาจพูดไม่รู้เรื่อง อ้อแอ้ เดินไม่ตรงทาง สับสน ขาดสติ ได้
สำนักงานสาธารณสุขจึง ได้มีการดำเนินงานรณรงค์แก้ไขปัญหาเพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยดำเนินงานควบคู่ไปกับรณรงค์บังคับใช้กฎหมายห้ามจำหน่ายสุราและบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติสุรา ปี 2493 และพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 สิ่งที่ต้องดำเนินการในปี 2552 คือ สำรวจปัญหาผลกระทบของครอบครัว สังคมที่ได้รับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผลที่ได้จากการสำรวจพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเป็นข้อเสนอแนะในการลดปริมาณการดื่มสุราได้ก็จะส่งผลต่อการลดความรุนแรงในครอบครัว ลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจราจร ลดภาระพ่อแม่ผู้ปกครอง และลดภาระทางสังคมลงไปด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น